วิตามินอี ตัวช่วยสำคัญเพื่อผิวสุขภาพดี แลดูอ่อนเยาว์
วิตามินอี มีชื่อในเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) มากที่สุด อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมในร่างกาย ในมวลหมู่เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำมัน และยังมีผลเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานต่างๆในร่างกาย

วิตามินอี มีประโยชน์อย่างไร
- ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น
- เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญโดยมีออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี
- เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ
- บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก
- ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ
- ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย
- ชะลอการสูญเสียความทรงจำในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มีความรุนแรงปานกลาง

แหล่งของวิตามินอี
วิตามินอี นั้นมีมากในน้ำมันจากพืชและธัญพืช ถั่วประเภทเปลือกแข็ง และผักใบเขียว และตามปกติร่างกายของเรานั้นต้องการ “วิตามินอี” ในประมาณ 10-15 IU/วัน

แหล่งวิตามินในธรรมชาติ | จำนวน | ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ |
น้ำมันเมล็ดฝ้าย | น้ำหนัก 100 กรัม | 40 IU |
น้ำมันดอกคำฝอย | น้ำหนัก 100 กรัม | 31.5 IU |
น้ำมันข้าวโพด | น้ำหนัก 100 กรัม | 19 IU |
น้ำมันถั่วเหลือง | น้ำหนัก 100 กรัม | 14.4 IU |
กะหล่ำปลี | น้ำหนัก 100 กรัม | 6.4 IU |
จมูกข้าวสาลี | 1 ช้อนโต๊ะ | 11-14 IU |
เมล็ดทานตะวัน | น้ำหนัก 100 กรัม | 25 IU |
ถั่วเปลือกแข็งประเภทอัลมอนด์ | น้ำหนัก 100 กรัม | 13.5 IU |
มันเทศ | น้ำหนัก 100 กรัม | 6 IU |
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ | น้ำหนัก 100 กรัม | 4.6 IU |
อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) | น้ำหนัก 100 กรัม | 4.5 IU |
ปวยเล้ง | น้ำหนัก 100 กรัม | 3 IU |
การเก็บรักษาวิตามินอี
การเก็บรักษาวิตามินอี ควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดด รวมทั้งออกซิเจนในอากาศ การขัดสี การบด จะทำให้พืชสูญเสียวิตามินอี ออกไปจำนวนมาก
ข้อควรระมัดระวัง ในการประทานอาหารเสริม หรือ ยา ประเภทวิตามิน อี
ถึงแม้ว่า วิตามินอี จะมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย แต่การรับประทานมากเกินไป หรือใช้กับผู้มีความผิดปกติ หรือผู้ป่วยบางโรค อาจส่งผลร้ายตามมาได้ ดังนั้นการบริโภควิตามินอี มีข้อพึงระวังดังนี้
- หากเคยมีประวัติแพ้วิตามิน อี หรือมีประวัติแพ้ยาอื่น ๆ ควรหลีกเลี่ยงใช้วิตามินอี หรือควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้
- ก่อนใช้วิตามิน อี ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากกำลังใช้ยาอื่น ๆ อยู่ก่อน เพราะตัวยาอาจมีปฏิกิริยาต่อกันและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้
- วิตามิน อี มีแนวโน้มที่จะไม่ปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณมากเกินไป หากมีภาวะ เช่น โรคหัวใจหรือเบาหวาน ห้ามบริโภคเกินวันละ 400 IU เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ มีงานวิจัยระบุว่าการบริโภควิตามิน อี วันละ 300-800 IU อาจเพิ่มความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 22 เปอร์เซนต์ในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke)
- การบริโภควิตามิน อี ในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดบีบท้อง อ่อนเพลีย อ่อนแรง ปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัด ผื่นคันและเกิดรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย
- ผู้ที่มีภาวะหรือโรคต่อไปนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
– ภาวะโลหิตจาง
– โรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
– มีระดับวิตามิน เค ต่ำ
– โรคตับ และโรคไต
– โรคภูมิแพ้ใด ๆ
– โรคตาบอดในตอนกลางคืนหรือสูญเสียการมองเห็นชนิดอาร์พี (Retinitis Pigmentosa)
– มีคอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
– มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือเกิดลิ่มเลือด
– มีประวัติเคยเป็นมะเร็ง
– ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และสูบบุหรี่เป็นประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
– ผู้ที่ตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้
– ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดหรือเพิ่งได้รับการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนว่าท่านกำลังใช้วิตามิน อี อยู่
อ่านบทความ : วิตามินดี ราชาแห่งกระดูกแข็งแรง